1.
แบ่งตามลักษณะทางกายภาพ
ในยุคอวกาศ
นักดาราศาสตร์จำแนกประเภทดาวเคราะห์ ตามลักษณะทางกายภาพซึ่งได้ข้อมูลมาจากยานอวกาศ
ซึ่งแบ่งออกเป็นดาวเคราะห์ชั้นในและดาวเคราะห์ชั้นนอก
- ดาวเคราะห์ชั้นใน (Inner or
Terrestrial Planets): จะเป็นกลุ่มดาวเคราะห์ ที่อยู่ใกล้ดวงอาทิตย์
เป็นดาวเคราะห์ที่มีขนาดเล็กและมีมวลน้อย
ชั้นบรรยากาศที่ห่อหุ้มดาวถูกทำลายโดยรังสีคลื่นสั้นและอนุภาคพลังงานสูงที่มากับลมสุริยะ
จึงเหลือแต่พื้นผิวที่เป็นของแข็ง เป็นดาวเคราะห์ที่เย็นตัวแล้วมากกว่า
ทำให้มีผิวนอกเป็นของแข็ง เหมือนผิวโลกของเรา จึงเรียกว่า Terrestrial
Planets (หมายถึง "บนพื้นโลก") ได้แก่ ดาวพุธ (Mercury),
ดาวศุกร์(Venus), โลก (Earth) และดาวอังคาร (Mars) ซึ่งจะใช้แถบของ ดาวเคราะห์น้อย
(Asteroid Belt) เป็นเกณฑ์
- ดาวเคราะห์ชั้นนอก (Outer or
Jovian Planets): จะเป็นกลุ่มดาวเคราะห์
ที่อยู่ไกลดวงอาทิตย์มากกว่า ดาวเคราะห์มีขนาดใหญ่และมีมวลมาก
เนื่องจากอยู่ห่างไกลจากอิทธิพลของรังสีและลมสุริยะ
บรรยากาศจึงสามารถคงอยู่ได้อย่างหนาแน่น
มีมวลมากจึงมีแรงโน้มถ่วงสูง ทำให้ดึงดูดสสารทั้งหลายมาสะสมไว้ภายใน
และเป็นดวงจันทร์บริวาร
สนามแรงโน้มถ่วงความเข้มสูงทำให้เกิดแรงไทดัลบนวัตถุที่เข้ามาใกล้
แล้วแตกสลายกลายเป็นวงแหวน
มีผิวนอกปกคลุมด้วยก๊าซ เป็นส่วนใหญ่ เหมือนพื้นผิวของดาวพฤหัส
ทำให้มีชื่อเรียกว่า Jovian Planets (Jovian มาจากคำว่า Jupiter-like
หมายถึง คล้ายดาวพฤหัส) ได้แก่ ดาวพฤหัส (Jupiter), ดาวเสาร์ (Saturn),
ดาวยูเรนัส
(Uranus),
ดาวเนปจูน (Neptune)
2.
แบ่งตามวงทางโคจร
ในยุคก่อนมียานอวกาศ
นักดาราศาสตร์จำแนกประเภทดาวเคราะห์
ตามลักษณะที่ได้จากการสังเกตการณ์ด้วยมุมมองจากโลก
โดยใช้วงโคจรของโลกเป็นเกณฑ์ในการแบ่งดาวเคราะห์ออกเป็นดาวเคราะห์วงในและดาวเคราะห์วงนอก
ภาพที่
1 ดาวเคราะห์วงใน/ดาวเคราะห์วงนอก และมุมมองจากโลก
- ดาวเคราะห์ช้ันใน (Inferior
Planets) หมายถึง ดาวเคราะห์ที่อยู่ใกล้ดวงอาทิตย์มากกว่าโลก ได้แก่
ดาวพุธ และดาวศุกร์
เราจึงมองเห็นเคราะห์จึงมองเห็นดาวเคราะห์วงในอยู่ใกล้ดวงอาทิตย์
เหนือขอบฟ้าด้านทิศตะวันตกเวลาพลบค่ำ หรือเหนือขอบฟ้าด้านทิศตะวันออกเวลารุ่งเช้าเท่านั้น
โดยดาวพุธจะห่างจากดวงอาทิตย์ไม่เกิน 28° และดาวศุกร์อยู่ห่างจากดวงอาทิตย์ไม่เกิน
44° (Greatest elongation) ดังภาพที่ 1 เมื่อใช้กล้องโทรทรรศน์ส่องดู
ดาวเคราะห์ทั้งสองจะปรากฏให้เห็นเป็นเสี้ยวสว่างซึ่งมีขนาดเปลี่ยนไปในแต่ละคืน
ขึ้นอยู่กับระยะห่างจากโลก และแสงเงาจากดวงอาทิตย์ ดังภาพที่ 2
ภาพที่
2 ขนาดปรากฏของดาวศุกร์
- ดาวเคราะห์วงนอก (Superior
Planets) หมายถึง
ดาวเคราะห์ที่อยู่ไกลดวงอาทิตย์มากกว่าโลก ได้แก่ ดาวอังคาร ดาวพฤหัสบดี ดาวเสาร์
ดาวยูเรนัส และดาวเนปจูน
ดาวเคราะห์ชั้นนอกสามารถปรากฏให้เห็นตอนกลางคืนในช่วงเวลาใดก็ได้ ไม่จำเป็นต้องอยู่ใกล้ดวงอาทิตย์เวลาขึ้นหรือตก
เมื่อส่องดูด้วยกล้องโทรทรรศน์จะเห็นว่า
ดาวเคราะห์ชั้นนอกปรากฏให้เห็นเป็นวงค่อนข้างกลมและมีขนาดค่อนข้างคงที่
เนื่องจากอยู่ไกลจากโลกมากว่าดวงอาทิตย์ จึงหันด้านที่สะท้อนแสงอาทิตย์เข้าสู่โลกเสมอ
ในยุคอวกาศ
นักดาราศาสตร์จำแนกประเภทดาวเคราะห์ ตามลักษณะทางกายภาพซึ่งได้ข้อมูลมาจากยานอวกาศ
ซึ่งแบ่งออกเป็นดาวเคราะห์ชั้นในและดาวเคราะห์ชั้นนอก
ภาพที่
3 ดาวเคราะห์ชั้นในและดาวเคราะห์ชั้นนอก
- ดาวเคราะห์ช้ันใน (Inner
Planets) หรือ ดาวเคราะห์แข็ง (Terrestrial planets) หมายถึง ดาวเคราะห์ที่มีพื้นผิวเป็นของแข็ง ได้แก่ ดาวพุธ ดาวศุกร์ โลก
และดาวอังคาร เป็นดาวเคราะห์ที่มีขนาดเล็กและมีมวลน้อย
เนื่องจากบรรยากาศที่ห่อหุ้มดาวถูกทำลายโดยรังสีคลื่นสั้นและอนุภาคพลังงานสูงที่มากับลมสุริยะ
จึงเหลือแต่พื้นผิวที่เป็นของแข็ง
ภาพที่
4 โครงสร้างของดาวเคราะห์ชั้นนอก
- ดาวเคราะห์ชั้นนอก (Outer
Planets) หรือ ดาวเคราะห์แก๊ส (Giant Gas Planets) หมายถึง ดาวเคราะห์ที่มีบรรยากาศหนาแน่น ได้แก่
ดาวพฤหัสบดี
ดาวเสาร์ ดาวยูเรนัส และดาวเนปจูน เป็นดาวเคราะห์ทีี่มีขนาดใหญ่และมีมวลมาก
เนื่องจากอยู่ห่างไกลจากอิทธิพลของรังสีและลมสุริยะ
บรรยากาศจึงสามารถคงอยู่ได้อย่างหนาแน่น
ดาวเคราะห์ชั้นนอกมีมวลมากจึงมีแรงโน้มถ่วงสูง ทำให้ดึงดูดสสารทั้งหลายมาสะสมไว้ภายใน
และเป็นดวงจันทร์บริวาร
สนามแรงโน้มถ่วงความเข้มสูงทำให้เกิดแรงไทดัลบนวัตถุที่เข้ามาใกล้่
แล้วแตกสลายกลายเป็นวงแหวน
หากพิจารณาโครงสร้างภายในของดาวเคราะห์ชั้นนอกในภาพที่ 4
ซึ่งมีองค์ประกอบส่วนใหญ่เป็นแก๊สไฮโดรเจนดังเช่นดวงอาทิตย์ ดังนั้นหากดาวเคราะห์แก๊สสามารถสะสมมวลให้มากพอที่จะกดดันให้ใจกลางของดาวมีึอุณหภูมิสูงถึง
15 ล้านเคลวิน ก็จะสามารถฟิวชันไฮโดรเจนให้กลายเป็นฮีเลียมเกิดเป็นดาวฤกษ์
และหากนำบรรยากาศที่หนาแน่นด้วยแก๊สไฮโดรเจนนี้ออกไป
ดาวเคราะห์ชั้นนอกก็จะมีสภาพเป็นดาวเคราะห์ขนาดเล็กที่มีพื้นผิวเป็นของแข็งดังเช่นดาวเคราะห์ชั้นในนั่นเอง
3.
แบ่งตามลักษณะพื้นผิว ดังนี้
- ดาวเคราะห์ก้อนหิน (Terrestrial
planets) ได้แก่ ดาวพุธ ดาวศุกร์ โลก และดาวอังคาร ทั้ง 4
ดวงนี้มีพื้นผิวแข็งเป็นหิน มีชั้นบรรยากาศบางๆ ห่อหุ้ม
ยกว้นดาวพุธที่อยู่ใกล้ดวงอาทิตย์ที่สุดไม่มีบรรยากาศ
- ดาวเคราะห์ก๊าซ (Giant Gas
Planets) ได้แก่ ดาวพฤหัสบดี ดาวเสาร์ ดาวยูเรนัส และดาวเนปจูน
จะเป็นก๊าซทั่วทั้งดวง อาจมีแกนหินขนาดเล็ก อยู่ภายใน
พื้นผิวจึงเป็นบรรยากาศที่ปกคลุมด้วยก๊าซมีเทน แอมโมเนีย ไฮโดรเจน และฮีเลียม
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น