ดาวอังคาร (Mars)




       ดาวอังคาร บางทีก็เรียกกันว่า ดาวแดง เพราะผิวพื้นเป็นหินสีแดง หินบนดาวอังคารที่มีสีแดงก็เพราะเกิดสนิมท้องฟ้าของดาวอังคารเป็นสีชมพูเพราะฝุ่นจากหินแดงที่ว่านี้   ผิวของดาวอังคารเหมือนกับทะเลหินแดง มีก้องหินใหญ่และหลุมลึก ภูเขาสูง หุบ เหว และเนินมากมาย หนึ่งปีบนดาวอังคารเกือบเทาสองปีโลก แต่หนึ่งวันบนดาวอังคารจะนานกว่าครึ่งชั่งโมงโลกเพียงเล็กน้อยดาวอังคารมีอากาศห่อหุ้มอยู่ไม่มากและเป็นก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ ลมพัดแรงจัดทำให้ฝุ่นฟุ้ง ไปทั้งดวงดาว ดาวอังคารมีขนาดโตประมาณครึ่งหนึ่งของโลก ดาวอังคารอยูไกลดวงอาทิตย์มากกว่าโลกจึงทำให้มีบรรยากาศหนาวเย็น อุณหภูมิบนดาวดวงนี้จะต่ำกว่าจุดเยือกแข็ง



       ดาวอังคารเป็นดาวเคราะห์ที่ได้รับความสนใจมากที่สุด ในบรรดาดาวเคราะห์บนฟ้าทั้งหมด เพราะเคยมีคนเชื่อว่า มีมนุษย์อยู่บนดาวเคราะห์สีแดงดวงนี้ ดาวอังคารยังเป็นดาวเคราะห์ที่มีโอกาสเข้ามาใกล้โลกเกือบพอๆ กับดาวศุกร์ โดยระยะใกล้ที่สุดจะอยู่ภายใน 40 ล้านกิโลเมตร เมื่อใช้กล้องโทรทรรศน์ขนาดใหญ่ที่มีกำลังแยกภาพสูงสุด ส่องดาวอังคารขณะอยู่ใกล้โลกที่สุด จะเห็นรายละเอียดได้ถึง 150 กิโลเมตร ซึ่งเทียบได้กับการเห็นริ้วรอยบนดวงจันทร์ด้วยตาเปล่า ที่กำลังแยกภาพขนาดนี้จะไม่เห็นรายละเอียดของพื้นผิว เช่นไม่เห็นภูเขาหรือหุบเหว หรือหลุมบ่อของดาวอังคาร แต่จะเห็นโครงสร้างใหญ่ๆ เช่นขั้วน้ำแข็งสีขาว หรือริ้วรอยสีคล้ำซึ่งเปลี่ยนแปลงไปตามฤดูกาลของดาวอังคาร สาเหตุที่มีผู้เชื่อว่ามีมนุษย์อาศัยอยู่บนดาวอังคาร เนื่องจากนักดาราศาสตร์ชาวอิตาลีชื่อ จิโอวานนี ชิอาพาเรลลี รายงานเมื่อ พ.ศ. 2420 ว่าเขาได้ใช้กล้องโทรทรรศน์ส่งพบร่องที่เป็นเส้นตรงจำนวนมากบนพื้นผิว และเรียกเป็นภาษาอิตาลีว่า คานาลี (canale) ซึ่งมีความหมายตรงกับภาษาอังกฤษว่า channel (ช่องหรือทาง) แต่คนอังกฤษเอาไปแปลว่า canal (คลอง) อันเป็นสิ่งซึ่งต้องขุดสร้างขึ้น ผู้ขุดสร้างคลองบนดาวอังคารจึงต้องเป็นมนุษย์ดาวอังคาร เพื่อนำน้ำจากขั้วมายังบริเวณศูนย์สูตรสำหรับการเพาะปลูก จุดนี้เองที่นำไปสู่การเขียนนิยายวิทยาศาสตร์ ที่ทำให้เชื่อว่ามีมนุษย์ดาวอังคาร ซึ่งจะเดินทางมาบุกโลก ผู้ที่สนับสนุกความคิดเรื่องมนุษย์ดาวอังคารสร้างคลองส่งน้ำเพื่อการเพาะปลูก คือ เปอร์ซิวัล โลเวลล์ นักดาราศาสตร์อเมริกันและเป็นสมาชิกของครอบครัวที่มั่งคั่งในรัฐแอริโซนา เขาได้ทำแผนที่แสดงคลองต่างๆ บนดาวอังคาร แต่ต่อมามีนักดาราศาสตร์ได้ใช้กล้องโทรทรรศน์ที่มีกำลังแยกภาพที่ดีกว่า ตรวจไม่พบคลองบนดาวอังคาร แต่ชาวบ้านทั่วไปยังฝังใจเชื่ออยู่ จนกระทั่งถึงยุคอวกาศจึงปรากฏชัดว่าไม่มีคลองบนดาวอังคารแน่นอน พื้นผิวดาวอังคารมีหลุมบ่อ หุบเหว ภูเขา และมีปล่องภูเขาไฟ มีร่องเหมือนเป็นทางน้ำไหลมาก่อน ดังจะได้กล่าวต่อไปในหัวข้อการสำรวจดาวอังคารโดยยานอวกาศ

 โครงสร้างดาวอังคาร และลักษณะพิเศษ
    โครงสร้างภายในดาวอังคาร (Interior of Mars)แบ่งเป็น 3 ส่วนใหญ่ๆคือ
    1.Core แกนกลางชั้นในสุด
    2.Mantle ชั้นหลอมละลาย
    3.Lithosphere ชั้นผิวพื้นรวมกับชั้นเปลือกนอก (Crusts)
    ตลอดกว่า 100 ปีผ่านมา ข้อมูลการสำรวจดาวอังคารจากพื้นโลก และยานสำรวจสรุปว่ามีองค์ประกอบของ Carbon dioxide ส่วนบรรยากาศทั่วไป มีความหนาแน่นน้อยกว่าโลก โดยความกดอากาศบนพื้นผิวดาวอังคาร เท่ากับความกดอากาศ เหนือระดับพื้นผิวโลกสูง 35 กิโลเมตร จึงนับว่ามีความเบาบางมาก พายุฝุ่นบนดาวอังคารจึงเป็นเรื่องปกติ เกิดขึ้นทั่วไป บนดาวอังคารแม้ว่าจะมีความหนาแน่นน้อย แต่ในบรรยากาศเกิดพลังลม เพียงพอสามารถหอบทราย เม็ดฝุ่นขึ้นจากเนินทรายได้ และการที่ดาวอังคารสีแดงคล้ำเหมือนดินลูกรัง เพราะดาวอังคารมี Iron oxides (สนิมเหล็ก) ฝุ่นและทรายจึงคล้ายกับหินที่ถูกไฟเผา
    บนดาวอังคารมีฤดูกาล ด้วยแกนเอียงใกล้เคียงกับโลก ในฤดูหนาวบริเวณพื้นครึ่งซีกของดาวอังคาร มีน้ำแข็งแห้งหนามากซึ่งเกิดจากบรรยากาศ ครั้นฤดูร้อนบริเวณนั้นน้ำแข็งหดน้อยลง ด้วยความร้อนจากพื้นผิวโดยรอบ เป็นลักษณะฤดูร้อนที่เกิดที่ขั้วใต้และร้อนกว่า
ขั้วเหนือ บริเวณ Polar caps (บริเวณปกคลุมน้ำแข็ง) แหล่งสะสม Dry ice (น้ำแข็งแห้ง) หรือ Frozen Carbon dioxide เป็นการจับตัวกันในชั้นบรรยากาศ ทุกๆ 5,000 ปี ดาวอังคารเกิดอาการ Wobbles (การหมุนตัวเองแบบโคลงเคลง)เหตุจากขั้วเหนือเกิดฤดูร้อนร้อนกว่าขั้วใต้ พื้นผิวดาวอังคารเป็นกรณีศึกษาสำคัญของ การเปลี่ยนแปลงสภาพอากาศ ที่ผ่านมาจนน้ำเหือดแห้งหมด ทิ้งร่องรอยการกัดเซาะของล่องน้ำ เหตุที่น้ำหายไปจากพื้นผิวด้วยเงื่อนไขบรรยากาศดาวอังคารบางลงมาก พร้อมทั้งเย็นลงโดยเชื่อว่าเดิมในอดีต ดาวอังคารอบอุ่น มีความหนาแน่นในบรรยากาศ การเปลี่ยนแปลงดังกล่าวยังเป็นข้อสงสัยว่า เกิดขึ้นเฉพาะดาวอังคารหรือดาวเคราะห์อื่นเช่นโลกหรือไม่ เพื่อเป็นคำตอบถึงโครงสร้างในระบบสุริยะ

บรรยากาศ
    บรรยากาศของดาวอังคารต่างจากบรรยากาศของโลก เพราะส่วนใหญ่เป็นก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ถึง 95 % มีไนโตรเจน อาร์กอน และออกซิเจน เล็กน้อย มีน้ำอยู่ราว 1 ใน 1000 ของบรรยากาศโลก แต่ถึงกระนั้นก็ยังเกิดเมฆในบรรยากาศของดาวอังคาร
สภาวะอากาศบนดาวอังคารแปรเปลี่ยนไปตลอดปี ที่ขั้วทั้งสองของดาวอังคารมีน้ำแข็งตลอดเวลา ส่วนในฤดูหนาว ก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์จับตัวแข็งขยายพื้นที่กว้างมากขึ้นที่ขั้วทั้งสอง ดาวอังคารเป็นดาวเคราะห์แห่งพายุฝุ่น อุณหภูมิและกระแสลมที่แปรเปลี่ยนไปทำให้มักเกิดพายุฝุ่น คละคลุ้งทั่วดวงดาวอังคารตลอดปี

บริวารดาวอังคาร
    ดาวอังคารมีบริวาร 2 ดวง ชื่อ โฟบอส (Phobos) กับ ไดมอส (Deimos) พบเป็นครั้งแรกโดย เอแสฟ ฮอล (Asaph Hall) ในปี พ.ศ.2420 เป็นดวงจันทร์ขนาดเล็ก พื้นผิวมืดคล้ำ รูปร่างคล้าย มันฝรั่ง อยู่ใกล้ ดาวอังคารมาก สันนิษฐานว่าอาจเป็นดาวเคราะห์น้อยที่ถูกดาวอังคารดูดจับไว้
โฟบอส มีขนาดประมาณ 20 X 28 กิโลเมตร เส้นผ่าศูนย์กลางประมาณ 22 กิโลเมตร โคจรรอบ ดาวอังคารรอบละ 7 ชั่วโมง 39 นาที ซึ่งน้อยกว่าเวลาที่ดาวอังคารหมุนรอบตัวเอง ดังนั้น ถ้าเราอยู่บนดาวอังคาร จะเห็นโฟบอสขึ้นทางทิศตะวันตก และตกทางทิศตะวันออกถึงวันละ3 รอบ โฟบอสอยู่ห่างจากศูนย์กลางดาวอังคารประมาณ 9,300 กิโลเมตร
ไดมอส เป็นดวงจันทร์ดวงเล็ก ขนาดเส้นผ่าศูนย์กลางประมาณ 12 กิโลเมตร อยู่ห่างจากศูนย์กลางดาวอังคารประมาณ 23,400 กิโลเมตร โคจรรอบดาวอังคารรอบละ 30 ชั่วโมง 18 นาที สำหรับคนที่อยู่บน ดาวอังคารเห็นโฟบอสกับไดมอส เคลื่อนที่สวนทางกันในท้องฟ้า

ข้อมูลสำคัญ
Ø  ระยะทางเฉลี่ยจากดวงอาทิตย์ 227.94 ล้านกิโลเมตร
Ø  คาบวงโคจร 1.88 ปี (687 วัน) 
Ø  ความรีของวงโคจร 0.0934
Ø  ระนาบวงโคจรทำมุมกับระนาบสุริยวิถี 1.8°
Ø  แกนเอียง 25.19°
Ø  หมุนรอบตัวเองใช้เวลา 24.62 วัน
Ø  รัศมีของดาว 3,397 กิโลเมตร
Ø  มวล 0.107 ของโลก
Ø  ความหนาแน่น 0.714 ของโลก
Ø  แรงโน้มถ่วง 0.38 ของโลก
Ø  องค์ประกอบหลักของบรรยากาศ คาร์บอนไดออกไซด์ ไนโตรเจน อาร์กอน
Ø  อุณหภูมิ  -87°C ถึง -5°C

Ø  มีดวงจันทร์ 2 ดวง ไม่มีวงแหวน

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น